ปราสาทวัดพู ณ ดินแดนลาวใต้'...งานสำรวจฯที่หยุดค้างเอาไว้ก่อน?
หน้า 1 จาก 1
ปราสาทวัดพู ณ ดินแดนลาวใต้'...งานสำรวจฯที่หยุดค้างเอาไว้ก่อน?
>> ถ้าจะใช้ความเก่า หรือความโบราณเป็นตัวชี้วัดถึง แหล่งที่มาแห่งอารยธรรมของชนชาวขอม 'ปราสาทวัดพู ณ ดินแดนลาวใต้' คือคำตอบที่ดีที่สุด...จากหลักฐานทางโบราณคดี ได้บ่งชี้ว่าตัวปราสาทวัดพูมีอายุเกินกว่า 1,500 ปีจนถึงปัจจุบัน โดยผ่านการก่อสร้าง บูรณะ ต่อเติม ใน 4 ยุคอาณาจักรสมัย คือ
1. อาณาจักรจาม (พบศิลาจารึกพระนาม เทวนิกา กษัตริย์จาม และระบุถึงดินแดนนี้เป็นของพวกจาม)
2. อาณาจักรเจนละ (บก)
3. อาณาจักรขอม
4. อาณาจักรล้านช้าง
จากการศึกษา และการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี พบว่าในเขตดินแดนประเทศลาวตอนใต้ ในยุคโบราณ ได้เคยเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของอาณาจักรจามปา (จาม) โบราณ โดยสันนิษฐานว่า ปราสาทวัดพู (ดั้งเดิม) ได้ถูกสร้างขึ้นในยุคสมัยของจาม เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทาง 'ศาสนาพราห์ม-ฮินดู' (รูปปั้นพระศิวะ พระพรหม แท่งศิวลึงค์ คือตัวบ่งชี้) และมีการค้นพบหลักฐานการใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธี 'บูชายัญ' ด้วยมนุษย์!
ภายหลังการเสื่อมอำนาจของพวกจาม และถูก Take Over โดยอาณาจักรเจนละ (บก) ซึ่งเป็นต้นตระกูลชาวขอม (และชาวขอม คือต้นตระกูลของชาวขแมร์/เขมรในยุคปัจจุบัน) ปราสาทวัดพู ได้ถูกบูรณะอีกครั้งหนึ่ง และยังคงไว้ซึ่งพิธีกรรม ความเชื่อ รวมถึงพิธีกรรมการบูชายัญ
* มีบันทึกในสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า ชาวจามปา (จาม) มิใช่ชนกลุ่มเดียวกันกับชาวขอม
ในยุคถัดมา หรือที่เรียกกันว่ายุค 'ขอมเรืองอำนาจ' ปราสาทวัดพู และเมืองบริวารของอาณาจักรเจนละ (บก) ได้ถูก Take Over โดยชนชาวขอม และในยุคขอมเรืองอำนาจดังกล่าวนี้เอง ที่ได้มีการต่อเติม บูรณะ เสริมแต่งปราสาทวัดพู ในแบบฉบับ 'ขอม Original' ขนานใหญ่ อาทิ การก่อสร้างตัวปราสาทในแบบอารยธรรมขอม การสร้างเมือง (ปุระ) และที่พลาดไม่ได้ก็คือ 'งานขุดบาราย' หรืออ่างเก็บน้ำ เพื่อการชลประทานของเมือง
>> ภายหลังการเข้ามายึดครองของชนชาวขอม ได้มีการสร้างเมืองติดริมแม่น้ำโขงที่ชื่อว่าเมือง 'เศรษฐปุระ'...ด้วยเหตุว่า ปราสาทวัดพู และเมืองเศรษฐปุระดังกล่าว ได้ถูกบูรณะ ต่อเติม เสริมแต่ง จากกษัตริย์ขอมในหลายยุคหลายสมัย ทำให้ไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า สิ่งปลูกสร้างใด ถูกสร้างขึ้นในยุคของใคร
จากหลักฐานที่ปรากฎในภาพถ่ายทางอากาศข้างต้น ได้บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ว่า 'งานขุด และงานก่อสร้าง' ไม่น่าจะแล้วเสร็จอย่างที่ต้องการ' ทั้งแนวขอบของเมือง หรือแม้แต่ สิ่งปลูกสร้างในเมือง ซึ่งมีลักษณะเหมือนว่า 'ไม่แล้วเสร็จ' ?
จากภาพแนวเขตเมืองเศรษฐปุระ ข้างต้นจะพบว่า 'แนวคันคู' (ขอบของเมือง) มีระยะทางมากกว่า 1 กิโลเมตร ทางด้านทิศเหนือ นั้น 'ไม่มี หรือได้หายไป' โดยถ้าจะสันนิษฐานว่า กาลเวลาทำให้คันคูเหล่านี้หายไป หรือเปลี่ยนแปลงไป 'ก็ไม่น่าจะใช่' เพราะว่าแนวคันคูด้านอื่นๆ ยังพอเห็นได้ชัดเจนพอสมควร...ผู้เขียน (ส่วนตัว) อยากจะสันนิษฐานว่า 'ได้มีเหตุ' การณ์บางอย่าง ที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ
และเมื่อพิจารณา 'การขุดแนวคันคู' (ที่เห็นเป็นแนวเส้นตรงขอบด้านนอก-ด้านใน) ซึ่งมีลักษณะเป็นร่องไม่กว้างมากนัก...ผู้เขียน (ส่วนตัว) อยากจะสันนิษฐานว่า ร่องคูดังกล่าว มีไว้เพื่อการกำหนดวางแนวเส้น ทิศทาง (วางกรอบ) 'เพื่อที่จะขุดดิน' จากขอบด้านนอก เข้ามาจนถึงขอบเมืองด้านในออกให้หมด เพื่อเป็นสระน้ำเพื่อการชลประทานขนาดใหญ่ ดังเช่นการออกแบบก่อสร้างตัวปราสาทนครวัด ตามภาพด้านล่าง
>> ถ้าข้อสันนิษฐานของผู้เขียนข้างต้น 'ถูกต้อง' นั่นหมายความว่า 'งานสำรวจรังวัดของชนชาวขอมโบราณ' โดยเฉพาะการ 'วางไลน์' เพื่อกำหนด และรักษาทิศทางให้เป็นแนวเส้นตรงนั้น คือ 'การขุดร่องคูเล็กๆ' ไปตามทิศทางที่กำหนด (หมายตำแหน่งขอบเขตงาน)...ส่วนวิธีการสำรวจ+เครื่องมือสำรวจ เพื่อให้ได้มาซึ่งทิศทาง และความยาวของร่องคันคูนั้น ยังเป็นปริศนาอยู่ ??
* ในยุคสมัยอาณาจักรล้านช้าง ที่ได้แผ่อิทธิพลลงมาครองดินแดน แถบถิ่นนี้ ได้มีการเปลี่ยนระบบความเชื่อจากการนับถือศาสนา พราห์ม-ฮินดู มาเป็นการนับถือศาสนาพุทธ โดยได้นำพระพุทธรูปเข้าไปประดิษฐานไว้ในตัวปราสาท และยกเลิกพิธีกรรมการบูชายัญ ในที่สุด...
จากบทความ >> http://geomatics-tech.blogspot.com/2012/01/blog-post.html
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ