'ขอม' Surveyor
หน้า 1 จาก 1
'ขอม' Surveyor
วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
'เล่นของใหญ่' ไปกับ ขอมเซอร์เวย์เย่อร์
>> ผู้เขียนได้อ่านงานเขียนของท่านอาจารย์ สรรค์สนธิ บุณโยทยาน เรื่อง 'สามเหลี่ยมพุทธมหายาน' ซึ่งท่านอาจารย์ได้กล่าวถึง การวางตำแหน่งของตัวปราสาททั้ง 3 เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า อย่าง 'พอดิบพอดี'...แต่อาจารย์ท่าน ก็ยังไม่กล้า 'ฟันธง' ว่าเป็นการเจตนา หรือบังเอิญของผู้สร้าง ฉะนั้นผู้เขียนขออนุญาติ นำมาเขียนต่อยอดในแบบฉบับงานเขียน (ใต้ดิน) ของ Geospatial Article ผู้ที่กำลัง อึ้ง ทึ่ง ฉงง กับความรู้ ความสามารถของชนชาวขอมโบราณ เมื่อเกือบพันปีที่แล้ว
>> เป็นที่ทราบกันดีว่า ในยุคสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1700-1800) เป็นยุคที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางอารยธรรมมากที่สุด ของชนชาวขอมโบราณ ซึ่งพิสูจน์ได้จากสิ่งปลูกสร้างที่อลังการงานสร้าง ตามบทความข้างต้น และในยุคเดียวกันนี้ มีสิ่งปลูกสร้างโบราณสถาน ถูกสร้างขึ้นมากมาย รวมถึงสถาปัติยกรรมระดับโลกอย่าง นครวัด-นครธม ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้น โดยมีต้นฉบับ (Original) มาจากปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา
จากภาพข้างต้น ถ้าตั้งสมมุติฐานว่าผู้สร้าง หรือผู้ออกแบบได้ 'เจตนา' ที่จะให้ตำแหน่งสิ่งปลูกสร้างทั้ง 3 มีความสัมพันธ์เชิงมุม ซึ่งกันและกัน...ผู้เขียนพยายามคิดหาทาง ที่จะพิสูจน์สมมุติฐานดังกล่าว แต่ก็มืดแปดด้าน จะว่าชนชาวขอมโบราณในยุคพันปีก่อน ได้รู้ และเข้าใจ หรือมีองค์ความรู้เรื่อง 'มุม' หรือหลักทฤษฎีสามเหลี่ยมกันมานานนมแล้ว ก็ไม่มีอะไรเป็นเครื่องพิสูจน์ (อย่างน้อย น่าจะมีการเขียน หรือสลักไว้ที่กำแพงปราสาท เหมือนภาพจิตรกรรมฝาผนังอื่นๆ ที่เล่าเรื่องราว เครื่องมือเครื่องใช้ และความเป็นไปของผู้คนในยุคนั้น...
* ผู้เขียนหวังที่จะเห็นภาพสลักนูนต่ำ กล้องมุมตั้งบนสามขา แต่ก็หามีไม่ ก็คงต้อง 'ซตพ' กันต่อไป...อิอิ
>> การกำหนดทิศทางในแนวเหนือ-ใต้ ให้มีระยะทางที่เท่ากัน โดยมีตัวปราสาทหินพิมาย เป็นจุดศูนย์กลางนั้น ไม่ใช่เรื่องยากถ้า 'ขอมเซอร์เวย์เย่อร์' เข้าใจ หรือมีองค์ความรู้ในกฎของ 'ธรรมชาติ' ที่ว่า ถ้าเห็นดาวเหนืออยู่สูง เหนือเส้นขอบฟ้า มากเท่าใด แสดงว่า ผู้ทำการสังเกตุได้เข้าใกล้ขั้วโลกเหนือมากขึ้นเท่านั้น...หมายความว่า ถ้าผู้สังเกตุ ยืนอยู่ที่อาณาจักรศรีวิชัยทางภาคใต้ และทำการสังเกตุดาวเหนือ จะพบว่าดาวเหนือโผล่พ้น เส้นขอบฟ้า ขึ้นมานิดเดียว ในขณะเดียวกัน ถ้าผู้สังเกตุยืนอยู่ที่อาณาจักรล้านนา ทางภาคเหนือ และทำการสังเกตุดาวเหนือ จะพบว่าดาวเหนือโผล่พ้น เส้นขอบฟ้าสูงกว่า ตอนที่ยืนสังเกตุอยู่ทางภาคใต้...และถ้าผู้สังเกตุ ยืนอยู่ที่อาณาจักรหมีขาว ที่ขั้วโลกเหนือ...ผู้สังเกตุจะเห็นดาวเหนือ ลอยอยู่ตรงศีษะพอดี เป็นต้น
* ขอมเซอร์เวย์เย่อร์ เมื่อพันปีก่อนจะมีองค์ความรู้ในเรื่องนี้ แล้วหรือยัง?
แต่...สิ่งที่ทำให้ผู้เขียน นั่งคิด นอนคิด กลับหัวคิด แต่คิดอย่างไรก็คิดไม่ออก นั่นคือการกำหนดตำแหน่งในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ขอมเซอร์เวย์เย่อร์ มีวิธีการกำหนดตำแหน่งให้ตัวปราสาทภูเพ็ก และตัวปราสาทบายน ตรงกันพอดีได้อย่างไร (หรือที่เรียกในยุคนี้ว่า มีค่าลองจิจูด เดียวกัน)...ถ้าห่างกันเพียงไม่กี่กิโลเมตร ก็ยังพอถากถาง วางแนว เล็งทิศกันไปได้ แต่สำหรับระยะทาง 415 กิโลเมตร...ทำได้อย่างไรกัน?
ผู้เขียนพยายามนึกถึงหลักการง่ายๆ ในการวัดมุมดวงอาทิตย์กับเส้นขอบฟ้า และการกำหนดตำแหน่งของผู้สังเกตุจากดวงอาทิตย์ ซึ่งในยุคที่ผู้เขียนเรียนอยู่ชั้นมัธยม อาจารย์ท่านสอนให้ทำเครื่องมือวัดมุมแบบง่ายๆ จากไม้โปรแทร๊คเตอร์ หรือครึ่งวงกลม (จำลองหลักการมาจากเครื่องมือ Sextant สำหรับหาค่ามุม ของนักเดินเรือในทะเล)...แต่ทว่า ภูมิปัญญาของชนชาวขอมโบราณ จะเข้าใจถึงหลักการดังกล่าวหรือไม่
* มีวิธีการอย่างไร ในการกำหนดตำแหน่งตัวปราสาทภูเพ็ก และตัวปราสาทบายน 'ให้ตรง' อยู่ในแนวเดียวกัน?
ขอม เซอร์เวย์เยอร์ เมื่อพันปีก่อน ทำได้อย่างไร...
>> บทความอ้างอิง: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 'งานสำรวจรังวัด' ของคนในสมัยโบราณ
'เล่นของใหญ่' ไปกับ ขอมเซอร์เวย์เย่อร์
>> ผู้เขียนได้อ่านงานเขียนของท่านอาจารย์ สรรค์สนธิ บุณโยทยาน เรื่อง 'สามเหลี่ยมพุทธมหายาน' ซึ่งท่านอาจารย์ได้กล่าวถึง การวางตำแหน่งของตัวปราสาททั้ง 3 เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า อย่าง 'พอดิบพอดี'...แต่อาจารย์ท่าน ก็ยังไม่กล้า 'ฟันธง' ว่าเป็นการเจตนา หรือบังเอิญของผู้สร้าง ฉะนั้นผู้เขียนขออนุญาติ นำมาเขียนต่อยอดในแบบฉบับงานเขียน (ใต้ดิน) ของ Geospatial Article ผู้ที่กำลัง อึ้ง ทึ่ง ฉงง กับความรู้ ความสามารถของชนชาวขอมโบราณ เมื่อเกือบพันปีที่แล้ว
จากภาพข้างต้น ถ้าตั้งสมมุติฐานว่าผู้สร้าง หรือผู้ออกแบบได้ 'เจตนา' ที่จะให้ตำแหน่งสิ่งปลูกสร้างทั้ง 3 มีความสัมพันธ์เชิงมุม ซึ่งกันและกัน...ผู้เขียนพยายามคิดหาทาง ที่จะพิสูจน์สมมุติฐานดังกล่าว แต่ก็มืดแปดด้าน จะว่าชนชาวขอมโบราณในยุคพันปีก่อน ได้รู้ และเข้าใจ หรือมีองค์ความรู้เรื่อง 'มุม' หรือหลักทฤษฎีสามเหลี่ยมกันมานานนมแล้ว ก็ไม่มีอะไรเป็นเครื่องพิสูจน์ (อย่างน้อย น่าจะมีการเขียน หรือสลักไว้ที่กำแพงปราสาท เหมือนภาพจิตรกรรมฝาผนังอื่นๆ ที่เล่าเรื่องราว เครื่องมือเครื่องใช้ และความเป็นไปของผู้คนในยุคนั้น...
* ผู้เขียนหวังที่จะเห็นภาพสลักนูนต่ำ กล้องมุมตั้งบนสามขา แต่ก็หามีไม่ ก็คงต้อง 'ซตพ' กันต่อไป...อิอิ
>> การกำหนดทิศทางในแนวเหนือ-ใต้ ให้มีระยะทางที่เท่ากัน โดยมีตัวปราสาทหินพิมาย เป็นจุดศูนย์กลางนั้น ไม่ใช่เรื่องยากถ้า 'ขอมเซอร์เวย์เย่อร์' เข้าใจ หรือมีองค์ความรู้ในกฎของ 'ธรรมชาติ' ที่ว่า ถ้าเห็นดาวเหนืออยู่สูง เหนือเส้นขอบฟ้า มากเท่าใด แสดงว่า ผู้ทำการสังเกตุได้เข้าใกล้ขั้วโลกเหนือมากขึ้นเท่านั้น...หมายความว่า ถ้าผู้สังเกตุ ยืนอยู่ที่อาณาจักรศรีวิชัยทางภาคใต้ และทำการสังเกตุดาวเหนือ จะพบว่าดาวเหนือโผล่พ้น เส้นขอบฟ้า ขึ้นมานิดเดียว ในขณะเดียวกัน ถ้าผู้สังเกตุยืนอยู่ที่อาณาจักรล้านนา ทางภาคเหนือ และทำการสังเกตุดาวเหนือ จะพบว่าดาวเหนือโผล่พ้น เส้นขอบฟ้าสูงกว่า ตอนที่ยืนสังเกตุอยู่ทางภาคใต้...และถ้าผู้สังเกตุ ยืนอยู่ที่อาณาจักรหมีขาว ที่ขั้วโลกเหนือ...ผู้สังเกตุจะเห็นดาวเหนือ ลอยอยู่ตรงศีษะพอดี เป็นต้น
* ขอมเซอร์เวย์เย่อร์ เมื่อพันปีก่อนจะมีองค์ความรู้ในเรื่องนี้ แล้วหรือยัง?
แต่...สิ่งที่ทำให้ผู้เขียน นั่งคิด นอนคิด กลับหัวคิด แต่คิดอย่างไรก็คิดไม่ออก นั่นคือการกำหนดตำแหน่งในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ขอมเซอร์เวย์เย่อร์ มีวิธีการกำหนดตำแหน่งให้ตัวปราสาทภูเพ็ก และตัวปราสาทบายน ตรงกันพอดีได้อย่างไร (หรือที่เรียกในยุคนี้ว่า มีค่าลองจิจูด เดียวกัน)...ถ้าห่างกันเพียงไม่กี่กิโลเมตร ก็ยังพอถากถาง วางแนว เล็งทิศกันไปได้ แต่สำหรับระยะทาง 415 กิโลเมตร...ทำได้อย่างไรกัน?
ผู้เขียนพยายามนึกถึงหลักการง่ายๆ ในการวัดมุมดวงอาทิตย์กับเส้นขอบฟ้า และการกำหนดตำแหน่งของผู้สังเกตุจากดวงอาทิตย์ ซึ่งในยุคที่ผู้เขียนเรียนอยู่ชั้นมัธยม อาจารย์ท่านสอนให้ทำเครื่องมือวัดมุมแบบง่ายๆ จากไม้โปรแทร๊คเตอร์ หรือครึ่งวงกลม (จำลองหลักการมาจากเครื่องมือ Sextant สำหรับหาค่ามุม ของนักเดินเรือในทะเล)...แต่ทว่า ภูมิปัญญาของชนชาวขอมโบราณ จะเข้าใจถึงหลักการดังกล่าวหรือไม่
* มีวิธีการอย่างไร ในการกำหนดตำแหน่งตัวปราสาทภูเพ็ก และตัวปราสาทบายน 'ให้ตรง' อยู่ในแนวเดียวกัน?
ขอม เซอร์เวย์เยอร์ เมื่อพันปีก่อน ทำได้อย่างไร...
>> บทความอ้างอิง: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 'งานสำรวจรังวัด' ของคนในสมัยโบราณ
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ